จังหวัดร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสานมานานกว่า 200 ปี อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตุนคร มีประตูเข้าเมือง 11 ประตู เมืองขึ้น 11 เมือง แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ มากมาย เมืองร้อยเอ็ดเป็นเมืองแห่งบึงพลาญชัย และมีส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ถึงสองล้านไร่เศษ ขณะนี้กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นแผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์จนแทบจะหาร่องรอยแห่งอดีตไม่พบ ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ดเริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจัมปาศักดิ์ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็นอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฎต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีแสดงการอยู่อาศัยของคนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นกัน และรวมทั้งเคยเป็นดินแดนที่อยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ เพราะพบโบราณสถานแบบขอมหลายแห่ง เช่น กู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ กู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี เป็นต้น
เป็นที่ราบสูง มีทุ่งกว้าง ดินปนทราย ส่วนมากเป็นดินเค็ม ดังนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดจึงมีบ่อเกลือสินเธาว์มากแห่งหนึ่งในภาคอีสาน แหล่งน้ำสำคัญคือ ลำน้ำชี ลำน้ำมูล ลำน้ำยัง ลำน้ำเตา ลำน้ำพลับเพลา และลำน้ำ เสียว
ทิศเหนือ จดอำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ จดอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก จดอำเภอเมือง อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก จดอำเภอเมือง อำเภอวาปีปทุม และอำเภอพยัคฆภูมิ จังหวัดมหาสารคาม
แหล่งท่องเที่ยว
กู่กาสิงห์ ปราสาทหินค่อนข้างใหญ่และได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดี มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ด้านข้างต่อด้วยบรรณาลัยทั้งสองด้านและล้อมรอบด้วยกำแพง
กู่พระโกนา ประกอบด้วยปรางค์ประธานสามองค์โดยองค์กลางถูกดัดแปลงเป็นวิหารพระพุทธบาทและประดับเศียรนาคเจ็ดเจ็ดเศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์สององค์ยังมีรูปทรงเป็นปราสาทหินแบบเดิม
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ผืนป่าบนเทือกเขาหินทรายที่ยังมีพันธ์ไม้หนาแน่นและชุกชุมไปด้วยสัตว์ มีผาพยอมและผาน้ำทิพย์เป็นจุดชมความงามของพระอาทิตย์ขึ้นและตก
บึงพลานชัย บึงน้ำใหญ่สัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีสวนสาธารณะกว้างขวางประดับตกแต่ด้วยสวนไม้ดอกไม้งามและร่มรื่น
ปรางค์กู่ ปราสาทหินที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมสร้างเพื่อเป็น อโรคยาศาล ประกอบด้วยปรางค์ปรางค์ประธาน กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพงที่ได้รับการบูรณะแล้ว
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติร้อยเอ็ด สถานที่จัดแสดงนิทัศการเกี่ยวกับจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประเพณีและศิลปหัตถกรรม นำเสนอในรูปแบบที่ทันสมัยด้วยการใช้สื่อและอุปกรณ์สารสนเทหลากหลาย เช่น ภาพถ่าย แสง-เสียง และหุ่นจำลอง
วนอุทยานผาน้ำ ผาหินขนาดใหญ่และมีป่าไม้ปกคลุมในพื้นที่ 2 หมื่น ไร่ บริเวรหน้าผามีน้ำไหลซึมผ่านตลอดปี จึงเขียวขจีเต็มไปด้วยต้นเฟินเต็มหน้าผาและด้านบนเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ได้ไกล บนผาเขาน้ำย้อยยังเป็นที่ตั้งของ วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธ์วนาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระมหาเจดีย์ชัยบาดาลที่สูงถึง 100 ม. และมีสถาปัตยกรรมสวยงามมาก
วัดบูรพาภิราม เป็นที่ประดิษฐานของพระรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปางประธานพร ที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดยสูงถึง 67 ม. มองเห็นโดดเด่นจากบึงพลาญชัย
สวนพฤกษศาสตร์วรรคดี F2 เป็นสวนพฤกษศาสตร์ในวรรณคดีประจำภาคอีสาน ในพื้นที่ประมาณ 1,000ไร่ จัดตั้งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม และได้ปลูกต้นไม้ในวรรณคดี เช่น พระเวสสันดร ลิลิตพระลอและปลูกพืชสมุนไพร
ที่กิน
ชื่อร้าน โทรศัพท์ อาหารแนะนำ
ตะโกทอง(09.00-20.00) 043511107 ลาบเป็ด
แม่พลอยอาหารไทย(06.00-17.00) 043515209 แกงเปรอะหน่อไม้
ที่ซื้อของ
ชื่อร้าน โทรศัพท์ สินค้าแนะนำ
บ้านห้วยหลืม - ผ้าไหม
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง 043511260 ผ้าไหม,หมอนขิด
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อ.จังหาร 9 กม.
อ.ธวัชบุรี 12 กม.
กิ่ง อ. เชียงขวัญ 12 กม.
อ.เมืองสรวง 26 กม.
อ.จัตุรพักตรพิมาน 26 กม.
อ.ศรีสมเด็จ 27 กม.
กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง 27 กม.
อ.เสลมภู 32 กม.
อ.อาจสามารถ 34 กม.
อ.โพนทอง 47 กม.
อ.เกษตรวิสัย 48 กม.
อ.สุวรรณภูมิ 52 กม.
อ.โพธิ์ชัย 53 กม.
อ.พนมไพร 64 กม
อ.เมยวดี 72 กม.
อ.หนองพอก 73 กม.
อ.ปทุมรัตน 76 กม.
กิ่ง อ.หนองฮี 78 กม.
อ.โพนทราย 82 กม.